วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ

1.) ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆตัวพร้อมๆกันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
2.) 1.ระบบปฏิบัติการ Unix เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานกับระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้พร้อมกันได้หลายคน ( Multiuser ) และทำงานตอบ โต้ระหว่างระบบกับผู้ใช้งานอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีมาตราฐานของระบบเครื่อง ปัจจุบันมีการเอาระบบปฏิบัติการมาใช้แบ่งเป็น 2 ประเภท1. บริษัทที่ขอซื้อลิขสิทธิ์ตัวโปรแกรม ( source code) เพื่อที่จะนำไปดัดแปลงใช้กับเครื่องของตน2. กลุ่มบริษัทที่พัฒนา Unix เอง โดยอาศัยตัวโปรแกรมจาก AT&T เรียก Unix นี้ว่า look-alike
2.ระบบปฏิบัติการ DOS DOS ( Disk Operating System ) เป็นโปรแกรมที่ช่อยจัดการข้อมูล จัดการตามความต้องการ เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ จอภาพ เครื่องอ่าน และการบันทึกของจานแม่เหล็กและอุปกรณ์อื่นๆ DOS เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC : Personnel Computer ) ระบบปฏิบัติการ Dos จัดเป็นประเภทโปรแกรมระบบ ( Operating System ) ซึ่งจัดโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่บนดิสก์ นิยมมากที่สุด ใช้กับเครื่องคอÁพิวเตอร์เกือบทุกระดับ ( ตั้งแต่ Mainframe ถึง Micro ) แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับเครื่อง PC มีชื่อว่า MS - DOS ซึ่งมักจะเรียก สั้น ๆ ว่า " DOS " โปรแกรม DOS เป็นโปรแกรมขั้นพื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องรับรู้ก่อน เพื่อจัดระบบของตนเองให้พร้อมที่จะทำงานและหลัง จากนั้นถ้าคุณต้องการใช้โปรแกรมอื่นจึงเรียก โปรแกรมนั้นมาเริ่มต้นทำงานต่อไป ปัจจุบันเราใช้คำสั่ง DOS น้อยลง เนื่องจากมีโปรแกรม Window เข้ามาแทนที่ แต่อย่างไรโปรแกรม DOS ยังมีความสำคัญอยู่ เพราะโปรแกรมอีกหลายอย่างก็ยังต้องพึ่งพา DOS อยู่ดี เพราะโปรแกรมอีกหลายอย่าง ก็ยังต้องพึ่งพา DOS อยู่ดี จึงไม่สมควรละทิ้งความเข้าใจและวิธีใช้คำสั่งของเรื่อง DOS DOS ทำอะไรได้บ้าง
1. จัดการเกี่ยวกับเรื่องแฟ้มข้อมูล เช่น ขอดูรายละเอียด คัดลอก ลบ ตั้งหมวดหมู่ สำหรับจัดเก็บแฟ้มข้อมูล ( Directory )
2. มีคำสั่งสำรหับสร้างแฟ้มข้อมูลออกบางประเภท เช่น แบตไฟล์ เท็กไฟล์ เป็นต้น
3. สั่งพิมพ์แฟ้มข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ เช่น จอภาพ ได้ทันที
4. จัดการเรื่องพื้นฐานของเครื่อง เช่น ตั้งแต่เวลาและวันที่ สั่งการและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5. เรียกโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ให้เริ่มต้นการทำงานได้
3.) แบบดาว (star) เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วยการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้ข้อเสีย ของเครือข่ายแบบ STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง และถ้าศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบทำงาน ไม่ได้เลย นอกจากนี้เครือข่ายแบบ STAR ยังใช้สายสื่อสารมากกว่าแบบ BUS และ แบบ RING

ไม่มีความคิดเห็น: