วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ในอนาคต วันที่17 พฤศจิกายน 2561

ในวันนั้น คงเป็นคนรวยที่สุดในจังหวัด เป็นคนที่มีชื่อเสียง การงานดี
มีค่ายมวยหญิงเป็นของตัวเอง และมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ
อยากให้วันนั้นมาถึงจัง คงจะมีความสุขมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สวย เจ็บ






































ประวัติมวยหญิง

-- ประวัติมวยหญิง --ความเป็นมา..มวยหญิง
เป็นที่รับราบกันว่า “มวย”คือกีฬาการต่อสู้ของลูกผู้ชายอกสามศอก เพราะเป็นเกมที่ต้องอาศัยพละกำลังความแข็งแกร่งของร่างกาย และ เทคนิคการใช้นวอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน แต่เมื่อโลกวิวัฒนาการด้านต่างๆขึ้นรวมทั้งสิทธิมนุษยชนที่เปิดกว้างให้การยอมรับกันต่อมาว่าหญิงเทียบเท่ากับชาย จนกระทั่งมีความพยายามที่จะผลักดันให้ผู้หญิงหันมาชกมวยทั้งในรูปแบบมวยไทยและมวยสากล โดยเฉพาะเมืองไทยซึ่งมี”มวย”เป็นพื้นฐานที่ควบคู่กับวิถีชีวิตของเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่โบราณกาลระยะเวลาหลายสิบปีกับความเพียรพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้หญิงไทยเข้ามามีส่วนร่วม และเพิ่งจะการจัดการแข่งขันกันถี่ขึ้นในเวทีภูธร ปริมณฑลและเมืองกรุง กระทั่งขยับขยายในระดับนานาชาติเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว”มวยหญิง”จะได้รับความนิยมหรือก้าวไปได้สวยบนสังเวียนระดับโลกมากน้อยเพียงไรจึงกลายเป็นหัวข้อที่ต้องวิเคราะห์ถึงอนาคตความเป็นไปได้และใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เว็บไซด์ มวยหญิง ขอนำเสนอพัฒนาการของ”มวยหญิง”
ทำไมจึงต้องมี “มวยหญิง”บนสังเวียนการต่อสู้ ส่วนใหญ่แล้วเกมกีฬาที่มีผู้ชายเป็นผู้เล่นหรือรวมแข่งขันภายใต้กฎกติกาสากลของแต่ละประเภทนั้น สามารถดึงดูดคนดูได้ทุกเพศทุกวัย เพราะแต่ละเกมล้วนมีเสน่ห์ความตื่นเต้นเร้าใจน่าติดตามอยู่ในตัวของมันเองขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะหลงใหลคลั่งไคล้กีฬาชนิดไหนมากกว่ากัน แต่กีฬา”มวย”มักมีข้อจำกัดเนื่องจากแต่ไหนแต่ไรมาเป็นเกมการต่อสู้สำหรับลูกผู้ชายที่อาศัยพละกำลังและเชิงชั้นเข้าพิสูจน์ผลแพ้ชนะกันแบบตัวต่อตัวก่อนจะเปิดทางให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในเกมดังที่เกริ่นไว้ข้างต้นอย่างไรก็ตามจำนวนคนดูเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นผู้ชายทั้งสิ้น ฉะนั้นในต่างประเทศจึงมีความพยายามที่จะสร้างจุดสนใจให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นแฟนขาประจำติดตามการแข่งขันเพื่อเพิ่มเม็ดเงินจากอัตราค่าผ่านประตูมากขึ้น เพราะปัจจุบันแทบไม่มีลูกค้าที่เป็นผู้หญิงเลย ดังนั้น “ไลล่า อาลี”บุตรสาว “มูฮัมหมัด อาลี”อดีตแชมป์โลกรุ่นยักษ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน เลยถูกนำมาสร้างชื่อเป็น “จุดขาย”บนสังเวียนเลือดเจริญรอยตามพ่อจนกระทั่งโด่งดังกลายเป็นซูเปอร์สตาร์มวยหญิงหมายเลข 1 ครองแชมป์สภามวยโลกในปัจจุบันสามารถเรียกคนดูเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีมวยหญิงระดับแชมป์โลกอีกหลายราย แต่ก็ไม่ดังเปรี๊ยงปร๊างเทียบเท่ากับ”ไลล่า”เจ้าของฉายา”ราชินีดำ” ในทางกลับกันถ้าไม่ใช่ทายาท”สิงห์จอมโว”เธอจะประสบความสำเร็จถึงขั้นดังกระฉ่อนโลกหรือไม่ยังสงสัย.!?
“มวยหญิงไทย”กับกำแพงจารีตประเพณี เมืองไทยจะได้ชื่อว่าเป็น “เมืองมวย” แต่ไม่ใช่เวทีสำหรับผู้หญิง ทั้งที่ในความเป็นจริงนับตั้งแต่อดีตหญิงไทยออกศึกสงครามรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายสามารถสร้างวีรกรรมมากมายจนบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยให้อนุชนรุ่นหลังได้รึกลึกนึกถึงความเก่งกล้าเยี่ยงชายชาตรีไม่ว่าจะเป็น พระศรีสุริโยทัย ท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร ท้าวสุรนารี หรือ “ย่าโม” เป็นต้นแม้ว่าปัจจุบันหญิงไทยจะแสดงศักยภาพเกี่ยวกับความรู้ความสามารถทุกๆด้านทัดเทียมผู้ชายไม่ใช่ช้างเท่าหลังเหมือนอดีตให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วทุกวงการแล้วก็ตาม แต่กับการหันมาขึ้นสังเวียนชกมวยกลับถูกแบ่งแยกขึ้นชกเวทีเดียวกันไม่ได้ เนื่องจาก”มวยไทย”เป็นศาสตร์และศิลปะการต่อสู้ที่ยึดมั่นอยู่กับความเชื่อก่อนขึ้นเวทีต้องกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกป้องคุ้มภัย และบริกรรมคาถาให้แคล้วคลาดเพื่อเป็นสิริมงคล และยังไหว้ครูผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้ประสบชัยชนะ จึงห้ามผู้หญิงขึ้นไปชกร่วมเวทีเดียวกันเกรงว่ามนตราจะเสื่อมอะไรเทือกนั้น ซึ่งถือเป็นจารีตประเพณีและความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนานด้วยเหตุที่มีข้อจำกัด”มวยหญิง”ที่จัดกันในเมืองไทยจำเป็นต้องแยกไปชกอีกเวที แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดความฉุกละหุกจนขาดรสชาติในการนั่งชมมากนัก ซึ่งแตกต่างกับสังเวียนต่างประเทศที่ขึ้นชกเวทีเดียวกันได้ทำให้การดำเนินการสะดวกสบายตรึงคนดูให้ติดตามชมเกมอย่างต่อเนื่อง“มวยไทยหญิง”เริ่มแข่งขันจากเวทีต่างจังหวัดตามงานวัดหรืองานบุญประเพณีเมื่อหลายปีก่อน โดย “เจ๊เบญจมาศ ชุณหเสวี” หัวหน้าคณะ “อมรรัตน์”ริเริ่มดำเนินการจัดการแข่งขันมวยไทยหญิง พอมีชื่อเสียงก็จัดแจงส่งไปโชว์ลีลาที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะเดิมทีชาวอาทิตย์อุทัยเป็นแฟนมวยไทยชายเหนียวแน่นมานานเนถึงขนาดส่งนักมวยซามูไรมาชกเป็นแชมป์เวทีมาตรฐานราชดำเนิน เมื่อมีมวยไทยหญิงไปชกกันเองเพื่อโชว์ศิลปะการต่อสู้หรือเจอกับสาวอะโนเนะ-ญี่ปุ่นก็ยิ่งเป็นความแปลกใหม่ที่น่าสนใจแต่ตอนหลังกลับมีข่าวในแง่ลบในทำนองว่าการส่งนักมวยไทยหญิงไปชกญี่ปุ่นเป็นเพียงฉากบังหน้า ส่วนเบื้องลึกแล้วเป็นการทำธุรกิจค้ากามหรือ”ขายเนื้อสด”ทำให้ฝ่ายดำเนินการปลุกปั้นมวยไทยหญิงต้องเลิกราไปในที่สุด
เรื่องราวของมวยไทยหญิง”เว้นวรรค”ไประยะหนึ่ง จวบจนปี 2524 ก็มีการฟื้นฟูจัดการแข่งขันมวยไทยหญิงขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งถือเป็นนัดใหญ่เป็นการยกทีมระหว่างสาวไทยกับสาวยุ่น โดยศึกครั้งนั้น “ปิ่น”มันฑนา (ณัฐนันท์) ฉวีวงษ์ บุตรสาว”บาร์โบส ฉวีวงษ์”นักมวยไทยชื่อดังในอดีต ซึ่งปัจจุบัน”ปิ่น”ณัฐนันท์ เป็นผู้จัดละครของไทยทีวีสีช่อง 3 และ”วรรณิภา แสงสว่าง”นักกรีฑาทีมชาติร่วมชกคว้าชัยเหนือสาวแดนซากุระสร้างความฮือฮาได้พอสมควร หลังจากนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับมวยไทยหญิงก็สร่างซาไปนานร่วมสิบปีจนกระทั่งมวยไทยหญิงกลับมามีสีสันอีกครั้งในราวปี 2530 ต้นๆ เมื่อ”จงรักษ์ ศักดิ์โนนหัน”สาวห้าวจากเมืองเหนือชกชนะจนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศ และมีคิวบินไปเพื่อแสดงความฉกาจฉกรรจ์ในเชิงมวยไทยที่สหรัฐอเมริกา แต่น่าเสียดายที่เธอชวดขึ้นชกตามโปรแกรมเพราะถูกตรวจพบว่ามีเพศชาย-หญิงในร่างเดียวกัน พร้อมๆกับความสนใจของผู้คนที่เริ่มลดลงอีกประมาณ 10 ปีต่อมาในช่วงปี 2541-2542 “อำนวย เกษบำรุง”ประธานโรงเรียนสอนมวยไทย-รังสิต นายสนามมวยเวทีรังสิต ร่วมมือกับ”พ.ต.อ.เสวก ปิ่นสินชัย (ยศขณะนั้น)”นำมวยไทยหญิงบรรจุชกร่วมรายการ”ศึกอัศวินดำ”ถ่ายทอดสดทางทีวีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.นัดละคู่ ทำให้มวยไทยหญิงถูกจับตามองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยืนหยัดอยู่ได้แค่ปีเศษเท่านั้นก็ต้องเลิกราเพราะศึกอัศวินดำย้ายวิกไปถ่ายทอดสดที่เวทีอื่น ประกอบกับ”อำนวย-มวยหญิง”นายสนามรูปหล่อแห่งทุ่งรังสิตอดีตนักมวยเก่าโดน 4 นักมวยหญิงในสังกัด สอยดาว ส.แจ่มใส,เจด้า ลูกเสริมศรีวรรณ,น้องกุ้ง หนองพวายิม และ ฟ้าสะท้าน ม.เมืองชุมแพ ซึ่งหนีออกจากค่ายแล้วไปแจ้งความให้ดำเนินคดีในข้อหา”กระทำอนาจาร” ซึ่งเรื่องนี้นายสนามมวยรังสิตออกโรงปฏิเสธข้อกล้าวหาเพราะมี”มือที่สาม”เข้ามายุยงใส่ร้ายป้ายสีให้เสื่อมเสียชื่อเสียงจนถึงขั้นต้องต่อสู้กันทางกฎหมาย